ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ความเครียดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากการทำงาน การเงิน หรือปัญหาสุขภาพค่ะ แล้วคุณผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ ว่าความเครียดสามารถส่งผลต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง? หนึ่งในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ คือปัญหาเส้นเลือดขอดนั่นเองค่ะ บทความนี้เราจะพาไปสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและเส้นเลือดขอด รวมถึงได้นำคำแนะนำในการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดขอดมาฝากคุณผู้อ่านทุกคนค่ะ
เส้นเลือดขอด คืออะไร?
เส้นเลือดขอด หรือ โรคหลอดเลือดดำชั้นตื้นบกพร่องเรื้อรัง เป็นภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณใกล้ชั้นผิวหนังขยายตัวผิดปกติ ทำให้เห็นเป็นเส้นเลือดขอดโป่งพองสีเขียวคล้ำ เป็นเส้นคล้ายใยแมงมุม คดไปมาเกิดขึ้นตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นบริเวณตาตุ่ม น่อง ขาพับ ต้นขา โคนขา สะโพก หน้าท้อง แต่บริเวณที่มักเกิดบ่อยที่สุดคือบริเวณขา ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นเส้นเลือดขอดเกิดความไม่มั่นใจ อีกทั้งยังทำให้รู้สึกเจ็บหรือปวดตามมา
โดยเส้นเลือดขอดจะมีอยู่หลายระยะ ตั้งแต่ระยะที่ไม่ร้ายแรง เห็นเป็นเพียงเส้นเลือดคดไปมา ไม่มีอาการเจ็บ ไปจนถึงระยะที่เส้นเลือดเริ่มโป่งพอง เขียวคล้ำ และมีอาการเจ็บ ปวด หนักขา ฯ ตามมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้ค่ะ
เส้นเลือดขอด เกิดขึ้นได้อย่างไร?
เส้นเลือดขอดเกิดจากความผิดปกติของลิ้นและผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืน การนั่ง โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงดูดเลือดในเส้นเลือดให้ลงไปสู่สนามแม่เหล็กโลก หรือบริเวณขาของเรา ทำให้เลือดที่ไหลลงมาหล่อเลี้ยงขาไม่สามารถไหลเวียนกลับขึ้นไปสู่หัวใจได้สะดวก ทำให้เลือดที่ขามีแรงดันในผนังเส้นเลือดมากกว่าเลือดที่อยู่ส่วนบนของร่างกาย เป็นสาเหตุหลักของการเกิดเส้นเลือดขอดนั่นเอง และหากมีการอุดตันของลิ้นในหลอดเลือดดำ หรือมีการอักเสบที่ผนังหลอดเลือดดำร่วมด้วย ก็จะยิ่งทำให้เลือดคั่งอยู่ในหลอดเลือดส่วนปลาย และทำให้ผนังหลอดเลือดดำที่ชั้นใต้ผิวหนัง เกิดการขยายตัวแบบผิดปกติ กลายเป็นเส้นเลือดขอดตามมานั่นเองค่ะ
สาเหตุของเส้นเลือดขอด
- เกิดจากการที่ต้องยืน เดิน หรือนั่งนาน ๆ
- เกิดจากกรรมพันธุ์ เช่น พ่อแม่มีหลอดเลือดขอด ลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นเส้นเลือดขอดด้วย
- เกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จะเป็นเส้นเลือดขอดเพิ่มขึ้น เนื่องจากความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง
- เกิดจากฮอร์โมนเพศ ซึ่งเพศหญิงมีโอกาสเป็นเส้นเลือดขอดมากกว่าเพศชาย เนื่องจากผลของฮอร์โมนเพศหญิงโดยตรง
- เกิดจากการมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป คนที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน เส้นเลือดจะหมุนเวียนได้ไม่สะดวก จะเกิดการคั่งค้างของเลือดบริเวณขา จึงทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้
- เกิดจากการกดทับ เช่น นั่งไขว่ห้าง ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก
- เกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง จะทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดี
ความเครียดคืออะไร?
ความเครียดคือภาวะที่ร่างกายและจิตใจต้องเผชิญกับสถานการณ์หรือปัจจัยที่ทำให้เกิดความกดดัน ร่างกายจะตอบสนองต่อความเครียดด้วยการปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และอะดรีนาลีน (Adrenaline) นั่นเองค่ะ
โดยเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด และเกิดกลไกการทำงาน โดยปล่อยฮอร์โมนทั้งสองตัวออกมา จะส่งผลกับร่างกายดังนี้ค่ะ
- ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีนทำให้หลอดเลือดหดตัวและความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น ฮอร์โมนอะดรีนาลีนทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- ประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันลดลง เนื่องจากฮอร์โมนคอร์ติซอลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดและเส้นเลือดขอด
ความเครียดมีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดและการทำงานของหลอดเลือด ความเครียดทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นและการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดขอด ดังนี้ค่ะ
- ความเครียดทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ทำให้หลอดเลือดต้องรับแรงกดดันมากขึ้น และเป็นเส้นเลือดขอดได้ง่ายขึ้น
- ความเครียดทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานผิดปกติ ทำให้เลือดไหลกลับสู่ขาและเท้าไม่ดี
- ความเครียดทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบและความยืดหยุ่นลดลง
วิธีการลดความเสี่ยงจากความเครียดต่อเส้นเลือดขอด
- ออกกำลังกาย : การออกกำลังกายช่วยลดความเครียดและเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- นอนหลับให้เพียงพอ : การนอนหลับเพียงพอช่วยฟื้นฟูร่างกายและลดความเครียด
- ทำสมาธิ หรือเล่นโยคะ : การทำสมาธิและเล่นโยคะช่วยผ่อนคลายจิตใจและลดความเครียดลงได้
- ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ : การทำกิจกรรมที่ชื่นชอบช่วยผ่อนคลายจิตใจและลดความเครียดลง
การป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด
การป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด สามารถทำได้โดยการปฏิบัติตามข้อแนะนำดังนี้ค่ะ
- หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเฉย ๆ เป็นเวลานาน
- ออกกำลังกายให้ร่างกายสูบฉีดเลือด เพื่อช่วยให้ระบบเลือดไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ยกขาสูงกว่าระดับหัวใจในเวลาพัก เช่น ในช่วงการผ่อนคลาย หรือหาช่วงเวลาว่าง ๆ หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูงหรือใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี
ความเครียดมีผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดและการทำงานของหลอดเลือด ทำให้ความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดขอดเพิ่มขึ้น การลดความเครียดและการดูแลสุขภาพหลอดเลือดเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดขอด การเลือกวิธีการลดความเครียดที่เหมาะสมและการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้คุณมีสุขภาพหลอดเลือดที่ดีและลดความเสี่ยงในการเกิดเส้นเลือดขอดได้นั่นเองค่ะ
รักษาเส้นเลือดขอด ด้วยการฉีดยาสลายเส้นเลือดขอด ที่ De Queen Clinic
การรักษาเส้นเลือดขอด มีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของเส้นเลือดขอด และควรปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาเส้นเลือดขอด เพื่อเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมกับอาการของคนไข้แต่ละรายค่ะ
ฉีดยาสลายเส้นเลือดขอด เป็นการฉีดตัวยาเพื่อให้เส้นเลือดขอดฝ่อและตีบลง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด ขนาดเล็ก ๆ ขั้นตอนการรักษาเส้นเลือดขอด แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กฉีดตัวยาเข้าไปในบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด เพื่อเข้าไปสลายเส้นเลือดขอดที่โป่งพอง หลังทำอาจเกิดรอยช้ำตรงตำแหน่งที่ฉีด แต่จะหายไปเองค่ะ หลังการรักษาเส้นเลือดขอดควรสวมถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดไว้ประมาณ 1 – 3 สัปดาห์
สำหรับท่านใดที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด ต้องการรับคำปรึกษาหรือสนใจบริการรักษาเส้นเลือดขอด ท่านสามารถเข้ารับบริการรักษาเส้นเลือดขอด ที่ De Queens Clinic คลินิกรักษาเส้นเลือดขอดชลบุรี คลินิกรักษาเส้นเลือดขอดเพชรบุรี เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาเส้นเลือดขอด หมอโบว์ ที่คอยให้คำปรึกษา วิเคราะห์อาการ และรักษาด้วยตนเอง หากใครที่กำลังประสบปัญหาภาวะเส้นเลือดขอด สามารถเข้ามาปรึกษาหรือส่งรูปภาพ มาให้แพทย์ประเมินได้ที่ De Queens Clinic Line: @dequeensclinic เรายินดีให้บริการค่ะ