เส้นเลือดขอด ปัญหาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวัง

 

     เส้นเลือดขอดเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีไลฟ์สไตล์ หรืออาชีพที่ต้องยืน หรือนั่งนาน ๆ รวมถึงผู้ที่ใส่ส้นสูงบ่อย ๆ มีน้ำหนักเกิน แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งที่มักจะประสบกับปัญหาเส้นเลือดขอด คือเหล่าคุณแม่ตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ถึงเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงของการเป็นเส้นเลือดขอด และเป็นอันตรายหรือไม่ ในบทความนี้ได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้วค่ะ

 

ทำไมคุณแม่ตั้งครรภ์ ถึงเป็นเส้นเลือดขอด?

     เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ มักมีภาวะที่เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวกเหมือนปกติ เนื่องจากทารกในครรภ์ที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จะไปกดทับเส้นเลือดดำในช่องท้อง ทำให้เลือดไหลเวียนกลับสู่หัวใจได้ยากขึ้น และทำให้เลือดเกิดการคั่งในเส้นเลือดฝอย ส่งผลให้เป็นเส้นเลือดขอดได้ง่าย โดยเป็นลักษณะของเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ เป็นสีเขียว ขดไปมาบริเวณขานั่นเอง อีกทั้ง เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในร่างกายจะมีมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนนี้ จะทำให้ผนังหลอดเลือดดำบางลง ทำให้เป็นเส้นเลือดขอดได้ง่าย และหลีกเลี่ยงได้ยากค่ะ 

 

เป็นเส้นเลือดขอดขณะตั้งครรภ์ ต้องรักษาไหม?

     คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเส้นเลือดขอด ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาค่ะ เนื่องจากหลังคลอดบุตร ฮอร์โมนในร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ กลับมาทำงานเป็นปกติ อาการเส้นเลือดขอดจะบรรเทาลง และค่อย ๆ หายไปค่ะ ทั้งนี้คุณแม่ต้องอาศัยการออกกำลังกาย หรือการปฏิบัติตัว ที่ช่วยให้อาการเส้นเลือดขอดบรรเทาลงร่วมด้วยค่ะ

     แต่ในผู้ป่วยบางรายที่เป็นเส้นเลือดขอดหนัก ๆ เส้นเลือดขอดมีอาการปูดบวม เมื่อคลอดบุตรแล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เพื่อให้เส้นเลือดขอดหายไปและไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตค่ะ หากคุณแม่ปล่อยไว้ เส้นเลือดขอดการลุกลามหนักขึ้น มีอาการปูดบวมมากขึ้น รวมถึงมีอาการปวดขาตามมานั่นเอง

 

วิธีป้องกัน และบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด

วิธีที่ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดขณะตั้งครรภ์ และวิธีบรรเทาอาการเส้นเลือดขอดหลังจากคลอดบุตรแล้ว มีดังนี้ค่ะ

  • ไม่ยืน หรือนั่ง เป็นเวลานาน ๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ 
  • เลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง หรือนั่งพับขา เพราะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก
  • นอนยกขาสูง โดยใช้หมอนหนุนบริเวณข้อเท้า เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับมายังหัวใจได้สะดวก
  • สวมถุงน่องเส้นเลือดขอด เพื่อช่วยพยุงกล้ามเนื้อบริเวณขา และเท้า เพื่อบรรเทาอาการเส้นเลือดขอด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
  • ใส่รองเท้าและกางเกงที่โปร่งสบาย 

 

การรักษาเส้นเลือดขอด 

หลังคุณแม่คลอดบุตรแล้ว แต่อาการเส้นเลือดขอดยังไม่หายไป ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมค่ะ โดยแพทย์จะพิจารณาจากอาการของคนไข้ และลักษณะของเส้นเลือดของแต่ละบุคคล เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้ โดยการรักษาเส้นเลือดขอด มีแนวทางการรักษา 2 แนวทางหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ  

  1. การรักษาเส้นเลือดขอดโดยไม่ผ่าตัด 
         การรักษาด้วยวิธีนี้ เป็นการรักษาโดยการฉีดยาสลายเส้นเลือดขอด (Endovascular thrombolysis) คือ การฉีดสารสลายเส้นเลือดขอดเข้าในหลอดเลือดดำโดยตรง ตัวยาโฟมจะทำให้ในหลอดเลือดเกิดแผลเป็นและตีบลง เลือดจะไหลเวียนไปยังหลอดเลือดที่ดีกว่า โดยเส้นเลือดที่ตีบลงนั้นจะค่อย ๆ สลาย แต่หลังจากฉีดสลายเส้นเลือดขอดแล้วนั้นคนไข้ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น สวมถุงน่องสำหรับรักษาเส้นเลือดขอด ที่มีความหนา และแน่นกว่าถุงน่องทั่วไป ใช้ยานวดบรรเทาอาการ ปั่นจักรยานกลางอากาศ ไม่ยืน หรือ นั่งเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเส้นเลือดขอดซ้ำอีก
  2. การรักษาเส้นเลือดขอดด้วยการผ่าตัด
         รักษาเส้นเลือดขอดด้วยการผ่าตัด (surgery) เป็นวิธีการรักษาเส้นเลือดขอดที่มีขนาดใหญ่ โป่งพอง อักเสบ เป็นแผลจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการฉีดสลายได้ค่ะ การรักษาด้วยวิธีนี้มักมีราคาที่สูง และมีวิธีการรักษาที่ยากกว่าการฉีดสลายเส้นเลือดขอดค่ะ

 

รักษาเส้นเลือดขอด ที่ De Queen Clinic

     ที่ De Queens Clinic คลินิกเสริมความงามชลบุรี คลินิกเสริมความงามเพชรบุรี เรามีบริการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยวิธีการฉีดยาสลายเส้นเลือดขอด เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด ขนาดเล็ก ๆ เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาเส้นเลือดขอด หมอโบว์เป็นคนให้คำปรึกษา วิเคราะห์อาการ และทำการรักษาด้วยตนเอง สำหรับท่านใดที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด ต้องการรับคำปรึกษาหรือสนใจบริการรักษาเส้นเลือดขอด สามารถเข้ามาปรึกษาหรือส่งรูปภาพ มาให้แพทย์ประเมินได้ที่ De Queens Clinic Line: @dequeensclinic เรายินดีให้บริการค่ะ