อาชีพเสี่ยง เป็น “เส้นเลือดขอด”
แม้เส้นเลือดขอดจะเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งอายุ เพศ น้ำหนัก และไลฟ์สไตล์ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยง แต่ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด คือการนั่ง หรือยืนนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบทนั่นเองค่ะ ซึ่งเส้นเลือดขอดนั้นมักพบมากในกลุ่มอาชีพที่ต้องนั่งหรือยืนนาน โดยในบทความนี้เราจะมาพูดถึงอาชีพที่มีความเสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอดกันค่ะ
เส้นเลือดขอด คืออะไร?
เส้นเลือดขอดคือโรคหลอดเลือดดำชั้นตื้นบกพร่องเรื้อรัง ซึ่งทำให้หลอดเลือดดำบริเวณใกล้ผิวหนังขยายตัวผิดปกติ และกลายเป็นเส้นเลือดขอด เห็นเป็นเส้นเลือดโป่งพองสีเขียวคล้ำขดไปมา โดยจุดที่มักเกิดบ่อยที่สุดคือบริเวณขา ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นเส้นเลือดขอดรู้สึกไม่มั่นใจและอาจทำให้เกิดความเจ็บปวดตามมาได้
เส้นเลือดขอด เกิดจากอะไร?
การนั่งหรือยืนนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนท่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดเส้นเลือดขอดค่ะ เนื่องจากการยืนหรือนั่งนานโดยไม่เปลี่ยนท่า ทำให้เส้นเลือดที่ไหลลงมาหล่อเลี้ยงบริเวณขา ไม่สามารถไหลกลับขึ้นไปสู่หัวใจได้สะดวก ทำให้ที่ขามีแรงดันในผนังเส้นเลือดดำมากขึ้น ทำให้เลือดดำคั่งค้างในหลอดส่วนปลาย ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดดำที่ชั้นผิวหนังเกิดการขยายตัวผิดปกติ และกลายเป็น “เส้นเลือดขอด” ในที่สุดนั่นเองค่ะ
อาชีพที่มีความเสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอด
-
พนักงานออฟฟิศ
พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่มักนั่งอยู่กับโต๊ะทำงานนาน ๆ โดยไม่ได้ลุกเดินหรือขยับไปไหน ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นเส้นเลือดขอดมากทีเดียว และนอกจากการนั่งนาน ๆ โดยไม่เปลี่ยนท่าทางจะเสี่ยงทำให้เป็นเส้นเลือดขอดแล้ว ยังเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้ด้วยเช่นกันค่ะ -
แอร์โฮสเตส และสจ๊วต
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอย่าง แอร์โฮสเตสและสจ๊วต ก็เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงและพบว่าเป็นเส้นเลือดขอดได้บ่อย เนื่องจากต้องยืนเป็นเวลานานตลอดเส้นทางบิน แถมสาว ๆ ต้องใส่รองเท้าส้นสูงเพื่อเดินบริการบนเครื่อง ยิ่งทำให้เสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอดมากขึ้น เพราะการใส่ส้นสูงจะทำให้กล้ามเนื้อขาของเราเกร็งมากกว่าปกติ ส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดบริเวณขา และทำให้เกิดเส้นเลือดขอดง่ายกว่าเดิมนั่นเองค่ะ -
พนักงานต้อนรับ
พนักงานต้อนรับ ต้องยืนเป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกันเฉลี่ยแล้ววันละ 6-8 ชั่วโมง แถมส่วนมากจำเป็นต้องใส่ส้นสูง เรียกว่าเป็นอาชีพที่เป็นโรคเส้นเลือดขอดกันจำนวนมากเลยทีเดียวค่ะ -
พนักงานเสิร์ฟ
พนักงานเสิร์ฟนอกจากจะต้องเดินบ่อย ๆ แทบตลอดเวลาแล้ว พนักงานเสิร์ฟยังต้องยกอาหารที่มีน้ำหนักมากอยู่บ่อย ๆ ยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นเส้นเลือดขอดได้เช่นกันค่ะ -
แพทย์และพยาบาล
แพทย์และพยาบาล เป็นอาชีพที่ต้องยืนและเดินอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะศัลยแพทย์ ที่ต้องใช้เวลาในการผ่าตัดคนไข้นานถึง 8-12 ชั่วโมงต่อวัน เรียกได้ว่าเป็นการยืนอยู่นิ่ง ๆ ที่ใช้เวลานานมากเลยทีเดียว รวมถึงการที่แพทย์ต้องเดินตรวจและนั่งตรวจคนไข้เป็นเวลานานโดยไม่ได้ลุกไปไหน กล่าวโดยสรุปได้ว่าในเวลา 1 วัน แพทย์ทั้งต้องยืนและนั่งเป็นเวลานาน และเสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอดได้ -
ครูและอาจารย์
การยืนสอนอยู่หน้าห้องเป็นเวลานาน ๆ หลายชั่วโมงติดต่อกันตลอดแทบทั้งวัน หรือการนั่งสอนเป็นเวลานาน รวมถึงการใส่ส้นสูงของคุณครูและอาจารย์ ทำให้อาชีพนี้เป็นอีกอาชีพที่พบว่ามีความเสี่ยงในการเป็นเส้นเลือดขอดมากไม่แพ้อาชีพอื่น ๆ ที่กล่าวมาเลยค่ะ
เส้นเลือดขอด อันตรายไหม?
เส้นเลือดขอดนั้น เป็นโรคที่เรียกว่าเป็นภัยเงียบเลยก็ว่าได้ค่ะ เนื่องจากเส้นเลือดขอดมีอยู่หลายระยะ ในระยะแรก ๆ นั้นเส้นเลือดขอดจะมีลักษณะเป็นเส้นเลือดฝอยขดไปมาใต้ผิวหนัง ทำให้ขาดูไม่สวยงามเพียงเท่านั้น แต่เมื่อปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่รักษา เส้นเลือดขอดจะค่อย ๆ ลุกลามเป็นระยะที่เป็นหนักขึ้น เริ่มมีอาการปวด บวมตามมา เส้นเลือดขอดขยายใหญ่ขึ้นมีลักษณะปูดโปน ทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ในระยะนี้จะเริ่มรักษาได้ยากขึ้น และระยะที่รุนแรงที่สุด คือการที่เส้นเลือดขอดอักเสบเรื้อรัง และเป็นแผล มีโอกาสติดเชื้อและอันตรายถึงชีวิตได้ค่ะ ดังนั้นการรีบรักษาเส้นเลือดขอดในระยะแรก ๆ จึงดีที่สุดนั่นเองค่ะ
แนวทางการรักษาเส้นเลือดขอด
รักษาเส้นเลือดขอดนั้น ขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นผู้ประเมินและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยแนวทางการรักษาเส้นเลือดขอดที่ใช้อย่างแพร่หลาย มีดังนี้ค่ะ
- การสวมถุงน่องยาวสำหรับเส้นเลือดขอด (compression stockings) เป็นการสวมถุงน่องที่ช่วยบีบตัวหรือกดทับบริเวณขา เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับไปที่หัวใจ ลดอาการคั่งค้างของเลือด เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยที่อาการยังไม่รุนแรง หรือเป็นเส้นเลือดขอดในระยะแรก ๆ
- การฉีดยาสลายเส้นเลือดขอด (Endovascular thrombolysis) เป็นการใช้ยาในการสลายเส้นเลือดขอดที่ไม่สามารถใช้การได้ โดยเฉพาะเส้นเลือดขนาดเล็กที่มีการอุดตัน เพื่อให้เส้นเลือดที่มีการอุดตันสลายไป วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก อาการยังไม่รุนแรง
- การใช้เลเซอร์ความร้อนหรือคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูง (Radio Frequency) เป็นการใช้พลังงานความร้อนจากเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุเพื่อทำให้เส้นเลือดขอดฝ่อ เหมาะกับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็ก
- การผ่าตัด (surgery) เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ในกรณีที่การใช้ยาและการสวมถุงน่องยาวไม่ได้ผล หรือเส้นเลือดขอดอยู่ในระยะที่รุนแรง เส้นเลือดขอดมีขนาดใหญ่ ปูด บวม อักเสบ เป็นแผล
รักษาเส้นเลือดขอดที่ไหนดี?
การรักษาเส้นเลือดขอดนั้น ควรเลือกสถานพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดเชื้อ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและดูแลทุกขั้นตอน เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษา ที่ De Queens Clinic คลินิกเสริมความงามชลบุรี คลินิกเสริมความงามเพชรบุรี เรามีบริการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยวิธีการฉีดยาสลายเส้นเลือดขอด เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาเส้นเลือดขอด คุณหมอโบว์ ที่คอยให้คำปรึกษา วิเคราะห์อาการ และทำการรักษาด้วยตนเอง
สำหรับท่านใดที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด ต้องการรับคำปรึกษาหรือสนใจบริการรักษาเส้นเลือดขอด สามารถเข้ามาปรึกษาหรือส่งรูปภาพ มาให้แพทย์ประเมินได้ที่ De Queens Clinic Line: @dequeensclinic เรายินดีให้บริการค่ะ