พันธุกรรม ส่งผลต่อการเป็นเส้นเลือดขอดอย่างไร?

 

     เส้นเลือดขอดเป็นโรคที่เกิดได้จากหลายปัจจัยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น อายุ เพศ น้ำหนัก รวมถึงไลฟ์สไตล์ที่มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน แต่อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน และเราจะมาพูดถึงในบทความนี้ คือปัจจัยด้านพันธุกรรมนั่นเองค่ะ

 

เส้นเลือดขอด คืออะไร?

     ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับเส้นเลือดขอดกันก่อนค่ะ เราอาจได้ยินคำว่า “เส้นเลือดขอด” มาบ่อยครั้งแล้ว แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า เส้นเลือดขอดคืออะไรกันแน่ และเกิดจากอะไรค่ะ

     เส้นเลือดขอด คือโรคหลอดเลือดดำชั้นตื้นบกพร่องเรื้อรังเกิดจากความผิดปกติของลิ้นเปิดปิดและผนังหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการที่เลือดต้องต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลกเพื่อลำเลียงเลือดกลับไปที่หัวใจ เมื่อหลอดเลือดดำเกิดการอักเสบ หรือทำงานผิดปกติ จะทำให้เลือดไม่สามารถลำเลียงกลับสู่หัวใจได้ทั้งหมดและเกิดการคั่งค้างของเลือดในหลอดเลือดดำ หรือการที่วาล์ว (ลิ้นเปิดปิดป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ) รั่วชำรุด ทำให้เลือดไหลย้อนกลับและไปรวมตัวกันในหลอดเลือดดำ ส่งผลให้หลอดเลือดดำเกิดการขยายตัวผิดปกติ และกลายเป็นเส้นเลือดขอดในที่สุดค่ะ

 

เส้นเลือดขอดเกิด จากอะไร?

     การอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืน การนั่ง โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดค่ะ เนื่องจากการนั่งหรือยืนนาน ๆ จะทำให้เลือดไม่สูบฉีดมากพอ และทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนกลับขึ้นไปสู่หัวใจได้สะดวก ทำให้เลือดที่ขามีแรงดันในผนังหลอดเลือดมากกว่าเลือดที่อยู่ส่วนบนของร่างกาย ร่างกาย ทำให้ผนังหลอดเลือดอักเสบและทำงานผิดปกตินั่นเอง

     และนอกจากบริเวณขาที่เกิดเส้นเลือดขอดได้บ่อยแล้ว บริเวณอื่น ๆ ตามร่างกายก็สามารถเกิดเส้นเลือดขอดได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นบริเวณตาตุ่ม น่อง ขาพับ ต้นขา โคนขา สะโพก หน้าท้อง ซึ่งทำให้ผู้ที่เป็นเส้นเลือดขอดขาดความมั่นใจ อีกทั้งยังมีอาการปวดตามมาได้อีกด้วยค่ะ

 

พันธุกรรม ส่งผลต่อการเป็นเส้นเลือดขอดอย่างไร?  

     กลไกทางพันธุกรรม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกับการเกิดเส้นเลือดขอดโดยตรงเลยค่ะ โดยเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่เรียกว่า สารเคลือบเซลล์ (Extracellular matrix , ECM) ซึ่งสารเคลือบเซลล์นี้ มีหน้าที่หนึ่งที่ช่วยสนับสนุนโครงสร้างของหลอดเลือดให้ทำงานได้อย่างปกติ แต่ถ้าสารเคลือบเซลล์เกิดความผิดปกติขึ้นก็อาจทำให้เซลล์นั้นเกิดความผิดปกติตามไปด้วยนั่นเองค่ะ แต่ความแปรผันทางพันธุกรรม หรือ ความบกพร่องทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการทำงานของสารเคลือบเซลล์ อาจทำให้ผนังหลอดเลือดดำอ่อนแอลง และขยายตัว ลุกลามกลายเป็นความผิดปกติของลิ้นหลอดเลือด และเกิดเป็นเส้นเลือดขอดในที่สุด 

     นอกจากนี้ความผิดปกติในเซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยทางพันธุกรรม ที่สามารถส่งผลต่อการเกิดเส้นเลือดขอดได้ค่ะ โดยเซลล์กล้ามเนื้อเรียบมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการหดตัวและคลายตัวของหลอดเลือดนั่นเอง การแปรผันทางพันธุกรรมที่ส่งผลต่อการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ และไปส่งผลกระทบต่อการการทำงาน และการไหลเวียนของหลอดเลือดดำ และนำไปสู่การก่อตัวของเส้นเลือดขอดนั่นเองค่ะ 

     แม้ว่าความบกพร่องทางพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการเกิดเส้นเลือดขอด แต่พันธุกรรมไม่ใช่สาเหตุเพียงอย่างเดียว ที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอดค่ะ เพราะปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์ อาชีพ ก็มีอิทธิพลต่อการเกิดเส้นเลือดขอดเช่นกันค่ะ ดังนั้น การดูแลสุขภาพและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นได้ แม้ว่าบุคคลในครอบครัวจะเป็นเส้นเลือดขอดค่ะ

 

ปัจจัยเสี่ยง ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด

  • การยืน เดิน หรือนั่งนาน ๆ 
  • ไลฟ์สไตล์ การกดทับ เช่น นั่งไขว่ห้างบ่อย ๆ ทำให้เลือดเดินไม่สะดวก รวมถึงการใส่รองเท้าส้นสูง ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดี ส่งผลให้เกิดเส้นเลือดขอดได้ในที่สุด
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง จึงเสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอดได้ง่าย
  • ฮอร์โมนเพศ เพศหญิงมีโอกาสเป็นเส้นเลือดขอดมากกว่าเพศชาย เนื่องจากผลของฮอร์โมนเพศหญิงที่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลให้ผลังหลอดเลือดทำงานบกพร่องได้
  • การตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ ปริมาณเลือดจะสูงขึ้น ทำให้หลอดเลือดมีการตึง และส่งผลให้เกิดเส้นเลือดขอดได้
  • น้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่มากเกินไป จะส่งผลให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่สะดวก จนเกิดการคั่งค้างของเลือดบริเวณขามากขึ้น จึงทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้ง่าย

 

แนวทางการรักษาเส้นเลือดขอด 

รักษาเส้นเลือดขอดนั้น ขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นผู้ประเมินและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยแนวทางการรักษาเส้นเลือดขอดที่ใช้อย่างแพร่หลาย มีดังนี้ค่ะ

  • การสวมถุงน่องยาวสำหรับเส้นเลือดขอด (compression stockings) เป็นการสวมถุงน่องที่ช่วยบีบตัวหรือกดทับบริเวณขา เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับไปที่หัวใจ ลดอาการคั่งค้างของเลือด เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยที่อาการยังไม่รุนแรง หรือเป็นเส้นเลือดขอดในระยะแรก ๆ 
  • การฉีดยาสลายเส้นเลือดขอด (Endovascular thrombolysis) เป็นการใช้ยาในการสลายเส้นเลือดขอดที่ไม่สามารถใช้การได้ โดยเฉพาะเส้นเลือดขนาดเล็กที่มีการอุดตัน เพื่อให้เส้นเลือดที่มีการอุดตันสลายไป วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก อาการยังไม่รุนแรง
  • การใช้เลเซอร์ความร้อนหรือคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูง (Radio Frequency) เป็นการใช้พลังงานความร้อนจากเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุเพื่อทำให้เส้นเลือดขอดฝ่อ เหมาะกับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็ก 
  • การผ่าตัด (surgery) เป็นวิธีการรักษาที่ใช้ในกรณีที่การใช้ยาและการสวมถุงน่องยาวไม่ได้ผล หรือเส้นเลือดขอดอยู่ในระยะที่รุนแรง เส้นเลือดขอดมีขนาดใหญ่ ปูด บวม อักเสบ เป็นแผล 

 

รักษาเส้นเลือดขอดที่ไหนดี?

     การรักษาเส้นเลือดขอดนั้น ควรเลือกสถานพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดเชื้อ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำและดูแลทุกขั้นตอน เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษา

     ที่ De Queens Clinic คลินิกเสริมความงามชลบุรี คลินิกเสริมความงามเพชรบุรี เรามีบริการรักษาเส้นเลือดขอดด้วยวิธีการฉีดยาสลายเส้นเลือดขอด เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านการรักษาเส้นเลือดขอด คุณหมอโบว์ ที่คอยให้คำปรึกษา วิเคราะห์อาการ และทำการรักษาด้วยตนเอง

     ฉีดยาสลายเส้นเลือดขอด เป็นการฉีดตัวยาเพื่อให้เส้นเลือดขอดฝ่อและตีบลง เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด ขนาดเล็ก ๆ ขั้นตอนการรักษาเส้นเลือดขอด แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กฉีดตัวยาเข้าไปในบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอด เพื่อเข้าไปสลายเส้นเลือดขอดที่โป่งพอง หลังทำอาจเกิดรอยช้ำตรงตำแหน่งที่ฉีด แต่จะหายไปเองค่ะ หลังการรักษาเส้นเลือดขอดควรสวมถุงน่องสำหรับเส้นเลือดขอดไว้ประมาณ 1 – 3 สัปดาห์ 

     สำหรับท่านใดที่มีปัญหาเส้นเลือดขอด ต้องการรับคำปรึกษาหรือสนใจบริการรักษาเส้นเลือดขอด สามารถเข้ามาปรึกษาหรือส่งรูปภาพ มาให้แพทย์ประเมินได้ที่ De Queens Clinic Line: @dequeensclinic เรายินดีให้บริการค่ะ